อักษรไทยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับเสียงคือ เสียงสูง เสียงกลาง และเสียงต่ำ
การแบ่งระดับเสียงของตัวอักษร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการผันวรรณยุกต์ ระดับเสียงในอักษรไทย แบ่งได้ดังนี้
อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ -- จำง่ายที่สุด โดยมีวิธีการท่องดังนี้
- ไก่ จิก เด็ก ตาย (เฎ็ก ฏาย) บน ปาก โอ่ง
- เด็กโตจ้องอ่านฏีกาบนปะฏัก(ครูเอกา)
อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ถ ฐ ผ ฝ ศ ษ ส ห -- คืออักษรที่มีเสียงจัตวา จริง ๆ ผมไม่ต้องท่อง แค่ฟังเสียงก็รู้แล้ว ว่าตัวไหนอักษรสูง แต่ถ้าใครอยากท่อง ก็ตามนี้นะครับ
- ผีฝากฃวดข่าวสารถึงฉันให้ศึกษาฐาน
- ขว้างฃวดเฉียดฐานถูกผีฝรั่งศีรษะสูญหาย
- ฃ้อยขอถาม ไผสิเฝ้าฉิ่งให้เศรษฐี(ครูเอกา)
- เพชฌฆาตเฒ่า ใช้โซ่ใหญ่ ฟาดธงรูปนกฮูก ล้มครืน ในงานภาณยักษ์ ที่วัดโมฬีโลก
อักษรกลาง ใส่ได้ทุกไม้ ตั้งแต่ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา
อักษรสูง ใส่ได้แค่ไม้เอก และไม้โท
อักษรต่ำ ใส่ได้แค่ไม้เอก และไม้โท
อันนี้ผมอธิบายแบบสรุปนะครับ จริง ๆ เรื่องมันยาวมาก ใครสนใจ สามารถไปที่ wikipedia ได้ครับ
อักษรกลาง
อักษรสูง
อักษรต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น